Introduce my group

blog นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่รูปภาพ หรือ การใช้ภาษาอังกฤษที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นการรวบรวมสิ่งที่พวกเราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นตัวอย่างและนำไปใช้ประโยชน์ในการเดินทาง หรือ การเรียน ได้ค่ะ
ทางเราได้รวบรวมทั้งรูปภาพ และ บทความ พร้อมทั้งคำอธิบายที่จะทำให้เข้าใจได้ยิ่งขึ้น

เพื่อนๆสามารถแสดงความคิดเห็นข้างล่างภาพ หรือ บทความ ที่เพื่อนๆชื่นชอบได้นะคะ
ยินดีรับฟังความคิดเห็นเพื่อการแลกเปลี่ยนการเรียนรู็้้้กันนะคะ
ขอบคุณมากค่ะ

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

เป้าหมายการทำบล็อก ของตนเอง

1. แสดงความคิดเห็น นำเสนอเรื่องราวที่เราสนใจ ที่เราชอบ และคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
2. แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อสั่งสม สร้างเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถทางสติปัญญาและด้านอื่นๆของตนเอง
3. สร้างสัมพันธ์ระหว่างเรากับบุคคลอื่นในชุมชน blog
4. ประโยชน์อื่นใดที่ อาจมีมา หาได้ ทำประประโยชน์ให้แก่ผู้ที่ต้องการ และสมควรได้รับจากการทำบล็อกในอนาคต

จากการสังเคราะห์ คำว่า 'Blogger บล็อกเกอร์' มาระยะหนึ่ง ขอสรุปเอาจากสิ่งที่พบเห็น มาดูกันนะคะ ว่าพอจะจัดหมวดหมู่ได้อย่างไรบ้าง

ซึ่งสิ่งที่เขียนไว้นี้ ไม่ใช่บทบัญญัติให้ปฏิบัติตาม บล็อกเกอร์มีอิสระในการแสดงออกและนำเสนอตามความสนใจ ความถนัด ความต้องการ จะเลือกทำบทบาทใดบทบาทหนึ่ง หรือ ผสมกันไปก็ย่อมได้ ส่วนแนวทางที่ควรหรือไม่ควรปฏิบัติไม่ใช้วัตถุประสงค์ของบทความนี้ค่ะ หากจะมีก็เป็นเพียงคำแนะนำในบางจุดเท่านั้น ซึ่งบล็อกเกอร์จะนำไปใช้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความเห็นควรของตนเองนะคะ คนที่จะตัดสินคือ ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของ บล็อกเกอร์ หรือบุคคลทั่วไป ที่จะแวะมาที่บล็อก หรือ เจ้าของบล็อกที่ บล็อกเกอร์ไปหาเขานั่นเองค่ะ ว่าเขาจะชอบ จะชัง แบบใด ต้องสังเกตุหรือหาข้อมูลเอาเองนะคะ

สถานภาพของ Blogger และบทบาทโดยสังเขป

1) Contributor ผู้เขียนเรื่อง หรือจะเรียก Producer ผู้ผลิต ก็ ได้เช่นกัน เพราะงานในบล็อกมิได้มีเพียงแค่เนื้อหา แต่ยังมีองค์ประกอบเสริมที่จะทำให้เรื่องน่าสนใจ น่าอ่าน ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับสาระ ตรงตามที่เราตั้งใจ ซึ่งอาจจะเป็น วิชาการ ความรู้ บันเทิง กิจกรรม การกุศล หรืออะไรก็แล้วแต่ทีเราตั้งใจจะส่งออกไปให้ผู้เสพบล็อกได้รับ จะเขียนสั้น เขียนยาว หรือเป็นคำถามให้คิด ให้ตอบ ให้ร่วมสนุก ก็ตาม

ในส่วน Content หรือ เนื้อหาของ เรื่องที่โพสในบล็อกกันนั้น ก็มีหลายแบบ แต่ละแบบมีวิธีเขียน หรือ นำเสนอแตกต่างกันได้ เช่น การเขียนไดอารี่จะเป็นการเล่าเรื่องราวชีวิตประจำวัน ไม่ต้องมีบทนำ บทสรุป ข้อคิด แตกต่างจากการ เขียนบล็อกที่ส่วนใหญ่จะมีแบบแผนในการเขียนเหมือนการเขียนเรียงความ มีการใช้ลูกเล่นได้หลากหลาย

ตัวอย่างประเภทของเนื้อหา ได้แก่

- เขียนโครงการ ใช้เป็นเวทีทำกิจกรรม เนื่องในโอกาสต่างๆ หรือทำธุรกรรมการค้า หารายได้ ทั้งที่หากำไร และ ไม่หากำไร
- เขียน/พูด/รายงาน เองทั้งหมด (ในอนาคตอาจมีการเขียนสคริปต์ให้กันด้วย) จากการค้นคว้า จากเหตุการณ์ จากการสัมภาษณ์ จากความทรงจำ จากอารมณ์ จากประสบการณ์ เช่น ไดอารี่ เรื่องสั้น บทความต่างๆ คู่มือต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น เรื่องนี้ การายงานข่าว การสัมภาษณ์สด Blog Talk, Blog Cast
- เขียนขึ้นเองทั้งหมดจากแหล่งข้อมูลของตัวเอง หรือที่ตัวเองรวบรวมมา คล้ายๆการทำรายงานหรือวิทยานิพนธ์ โดยระบุที่มาและให้เครดิตเจ้าของเนื้อหา
- งานแปล จากภาษาอื่นโดยตัวเอง โดยได้รับอนุญาตจากผู้แต่ง
- นำบทความของคนอื่นมาเรียบเรียงใหม่ เพื่อดึงจุดที่ตนเองอยากนำเสนอออกมาให้เด่นชัด ซึ่งเมื่อมีใครมาอ่านจะเข้าใจทันทีว่า ไม่ได้ลอกมาแต่มีการนำความคิดของผู้เขียนไปผสม ยกตัวอย่างเช่น งานวิจารณ์หนังสือ วรรณกรรม บุคคลในข่าว วิเคราะห์ข่าว โดยบอกแหล่งที่มา และให้เครดิตผู้แต่ง และ/หรือเจ้าของ
- การคัดลอกเนื้อหาจากจากแหล่งอื่น เพื่อใช้อ้างอิงในบทความของตนเอง โดยบอกแหล่งที่มา และให้เครดิตผู้แต่ง และ/หรือเจ้าของ
- การคัดลอกผลงานบุคคลอื่นมาทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่ เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ช่วยโปรโมท หรือเอามาเผยแพร่เพื่อความบันเทิง สนุกสนาน ชื่นชม ประหลาดใจในความแปลก โดยบอกแหล่งที่มา และให้เครดิตผู้แต่ง และ/หรือเจ้าของ
- การเอาเรื่องทั้งหมดของบุคคลอื่นมาแปะในบล็อก 100% ด้วยเหตุผลต่างๆกันไป

2) Commentator ผู้ออกความเห็น ในฐานะผู้เยือน เมื่อไปอ่านไปเยี่ยมชมบล็อกของคนอื่น ก็ต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ในการปฏิบัติและแสดงตนให้เหมาะสมกับตัวเอง เนื้อหา อารมณ์ สภาวะแวดล้อมของเรื่อง ของบล็อก ของบล็อกเกอร์ผู้เป็นเจ้าของบ้าน ตลอดจนห้วงเวลาที่เราไปหา เช่น อ่านเนื้อเรื่องแล้ว ต้องอ่านคอมเมนต์ประกอบไปด้วย จึงจะเห็นภาพรวมได้ และ ช่วยให้การออกความเห็นมีรสชาตดีกว่าการไม่อ่านอะไรเลย หรืออ่านแต่เพียงหัวข้อ เนื้อเรื่องนิดหน่อยแล้วสรุปเหมาเอาเอง

ในส่วนวิธีการเขียนคอมเมนต์ ก็มีหลายแบบ เช่นกัน ยกตัวอย่าง เช่น
- อ่านเรื่องโดยละเอียด แล้วร่วมแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนั้นๆ แม้จะคิดแตกต่างก็แสดงออก บางทีเอาเรื่องของตัวเองที่สอดคล้องกับเนื้อหา มาแบ่งปันด้วย
- อ่านเรื่องโดยละเอียด แล้วร่วมแสดงความคิดเห็น แต่ยังเกรงใจอยู่ บางทีเอาเรื่องของตัวเองมาแบ่งปันด้วย จะเข้ากับเนื้อหา หรือไม่ก็แล้วแต่กรณี
- อ่านเรื่องบ้าง พอให้ได้ใจความ ก็เขียนความเห็นเลย จะพบความไม่ละเอียดได้จาก การถาม หรือ พูดในสิ่งที่มีอยู่ในเนื้อเรื่องแล้ว บางทีเอาเรื่องของตัวเองมาแบ่งปันด้วย จะเข้ากับเนื้อหาหรือไม่ก็แล้วแต่กรณี
- ไม่อ่านเรื่อง แต่ออกความเห็น อาจจะดูแค่ชื่อเรื่อง แล้วคิดเอาเองว่าน่าจะเป็นเรื่องแนวไหน จะพบเห็นได้ ว่าบางทีก็เขียนไปคนละเรื่องเลย บางทีเอาเรื่องที่ตัวเองเขียน หรือเรื่องของตัวเองมาผสมด้วย จะเข้ากับเนื้อหาหรือไม่ก็แล้วแต่กรณี
- อ่านหรือไม่ไม่ทราบ แต่มาชักชวนให้ไปเที่ยว บล็อกตัวเอง
- ไม่อ่านอะไรเลย เอาลิงค์มาแปะไว้เฉยๆ บางทีมีการทักทายก่อน บางทีไม่มีการทักทาย
- มาทักทาย ตามเวลา ตามโอกาส มาแสดงตัวว่ามาเยี่ยม
- มาสนทนา มาโต้ตอบ
- เจ้าของบล็อกมาตอบคอมเมนต์
- มาถามหา มาเสนอแนะ ให้คำแนะนำ แนะนำแหล่งข้อมูลดีดี
- มาชักชวนไปทำกิจกรรมร่วมกัน มาชักชวนไปอ่านเรื่องดีดีของบล็อกอื่น
- มาตั้งคำถาม ตั้งขอสงสัย ขอความช่วยเหลือ
- มาตอบคำถาม มาคลายข้อข้องใจ มาให้ความช่วยเหลือ
- มาแสดงอารมณ์ ดีใจ สุข เศร้า เหงา ผิดหวัง บ่น เช่น ทะเลาะกับเพื่อน ทะเลาะกับแฟน ทีมบอลที่เชียร์อยู่ชนะ หรือ แพ้ มีคำสั่งยุบพรรค ไม่ยุบพรรค กรณีนี้จะเกิดในกลุ่มที่คุยกัยบ่อยๆ หรือ รู้อยู่ว่า คอเดียวกัน

3) Participant ผู้มีส่วนร่วม เช่นกรณีทาง oknation หรือ บล็อกเกอร์ท่านอื่นริเริ่มทำกิจกรรมอะไรที่ต้องทำร่วมกัน เช่น Citizen Journalist, Blog Tag, Oknation Speakers, เสนอข่าวแผ่นดินไหว, ข่าวหมอกควัน, ข่าวภัยผู้ก่อการร้าย, ข่าวจราจร, ข่าวจากจังหวัดที่บล็อกเกอร์อยู่, ประกวดภาพถ่าย, ประกวดเรื่องสั้น บทความ, ทำการกุศล, ไว้อาลัยทหารที่เสียชีวิต, ออกค่าย, เยี่ยมเด็กกำพร้า พิการ ผู้ด้อยโอกาส, แข่งโบว์ลิ่ง, แข่งกอล์ฟ, oknation Blogger Meeting, ออกบู้ท, เป็นต้น

ชาวบล็อกเกอร์สามารถไปร่วมกิจกรรมได้ในหลายรูปแบบ เช่น
- ให้ความสนใจ ไปอ่านเรื่องราว
- ไปออกความเห็น ให้ข้อเสนอแนะ
- ช่วยเหลืองานเบื้องหลัง เตรียมการก่อนถึงกำหนด
- สมัครเข้าร่วมในฐานะ ผู้จัดงาน สนับสนุนทุน ไปเป็นเกียรติ ไปร่วมงาน เป็นตัวแทน เป็นต้น
- บอกกล่าว ชักชวนบล็อกเกอร์ท่านอื่นให้ทราบถึงกิจกรรมนั้นๆ
- เผยแพร่ข่าวสารให้บุคคลภายนอก เพื่อให้คนหมู่มากทราบ หากมิใช่เป็นเรื่องเฉพาะภายใน
-ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม เช่น จะรณรงค์เรื่องประหยัดพลังงาน ก็ให้ปฏิบัติในชีวิตจริงด้วย รวมถึงชักชวนคนรอบข้างให้ทำไปพร้อมๆกัน
- ให้กำลังใจทุกฝ่าย เมื่อมีโอกาส และเวลา

4) Mentor พี่เลี้ยง หรือ Supporter ผู้ช่วยเหลือ บทบาทนี้มีให้เห็นได้เสมอๆ คือ การคอยให้กำลังใจ ให้คำแนะนำแก่ blogger ท่านอื่น ด้วยความรัก ความห่วงใย ประสาคนคุ้นเคย ประสาเพื่อนร่วมชุมชน ประสาเพื่อนมนุษย์ อาจจะช่วยกันหน้าไมค์ หรือ หลังไมค์ก็แล้วแต่ ในที่นี้ขอกล่าวถึง blogger 2 กลุ่มค่ะ

กลุ่มที่ 1 เป็น blogger ที่มีหน้าที่อยู่ในทีมงานของผู้ให้บริการบล็อก oknation ด้วย เพราะในขณะที่ทำบล็อกของตนเอง ก็ต้องช่วยแก้ปัญหา ให้กำลังใจ ประสานงาน สานไมตรี หลายๆอย่างไปพร้อมๆกันจนบางครั้งก็แยกไม่ออกว่าไหนคืองาน ไหนคือส่วนตัว

กลุ่มที่ 2 เป็น blogger ที่มีน้ำใจ เห็นเพื่อน blogger เกลอกัน มีความไม่สบายใจ มีปัญหา ก็จะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา ปลอบ ให้กำลังใจตามวาระและโอกาส ด้วยความปราถนาดี รองลงไปก็ไปแสดงน้ำใจ แสดงความเห็นใจพอประมาณ ตรงนี้เป็นเรื่องดี แต่ก็ต้องระวังในการแสดงออกให้พอเหมาะพอควร ในกรณีที่เป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องที่กระทบจิตใจ ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับเทคนิค ควรทำอยู่บนพื้นฐานของความจริงใจและเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วยจะดีที่สุด ไม่งั้นผู้ที่โดนปลอบใจจะรู้สึกด้อยและกลับกลายเป็นเสียใจมากขึ้น หรืออาจเป็นเหตุให้เสียสัมพันธ์อันดีก็เป็นได้

5) Blog Master ผู้ดูแลและบริหารบล็อก เรื่องนี้เคยเขียนไว้แล้วคร่าวๆ ที่บล็อกนี้ เชิญไปอ่านประกอบเนื้อหาได้ค่ะ ที่

มารู้จัก Blog Master อาชีพใหม่ (ซะเมื่อไหร่) ค่ะhttp://www.oknation.net/blog/nanahahe/2007/05/18/entry-1
(ว่างๆจะมาเขียน ขยายความเพิ่มเติมในส่วนนี้ ไว้อีกนะคะ)

เพราะ การทำบล็อกจะเขียนอย่างเดียวก็ไม่ได้ จะนั่งอ่านของคนอื่นอย่างเดียวก็ไม่ดี จะไม่หาความรู้ พัฒนาแนวคิด พัฒนาปรับปรุงแนวเขียน แนวการนำเสนอเรื่องเลยก็ไม่ควร จะปล่อยปละละเลยไม่อัพบล็อก ไม่ตอบคอมเมนต์เลยก็ไม่ใช่ ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์หลายรูปแบบค่ะ

ข้อดีของการทำบล็อก ก็คือ

1. เจ้าของบล็อกมีอิสระที่จะนำเสนอ อะไรก็ได้ ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น ที่ไม่ผิดกติกาของผู้ให้บริการบล็อกที่เราทำอยู่ (oknation) ที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถ้าเราใช้จริยธรรมในใจกำกับ กฎต่างๆก็อยู่ที่เราจะกำหนดเองค่ะ

2. เปิดโอกาสให้ บล็อกเกอร์ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ จะรับไว้ จะไม่อ่าน จะตอบ จะลบ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าของบล็อก แต่ก็ไม่ลดสิทธิ์ที่ผู้ให้บริการบล็อกจะเข้ามาช่วยดูแลในกรณี ฉุกเฉิน หรือมีปัญหาที่ต้องดำเนินการ

3. ในด้านเทคนิค เจ้าของบล็อกสามารถปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้โดยไม่ต้องมี ความรู้ในเรื่องภาษาคำสั่งของโปรแกรมมากมาย อาศัยบทเรียนง่ายๆ การสังเกตุ การทดลอง สามัญสำนึกช่วยก็ทำเองได้ หรืออาจขอความช่วยเหลือเล็กๆน้อยๆจากผู้ที่มีประสบการณ์ก็สามารถเข้าไปแก้ไข Source Code เองได้

4. สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ที่มีความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ร่วมกันได้

5. ช่วยเป็นกระบอกเสียง ทำประชาสัมพันธ์ในเรื่องต่างๆได้ รวมทั้งผลงานให้เป็นที่รู้จัก หากบุคคล นักธุรกิจ คนดัง นักร้อง ค่ายเพลง นักแสดง หมอดู นักการเมือง องค์กร ห้างร้านสนใจมาทำบล็อกก็จะได้ประโยชน์ในเรื่องการตลาดอย่างมาก หากใช้อย่างมีเป้าหมาย มีการวางแผน ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และบริหารบล็อกอย่างมืออาชีพ หรือด้วยมืออาชีพ

6. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกทำธุรกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่หารายได้จากการจำหน่ายสินค้า บริการ หรือ หารายได้จากการเป็นสมาชิก การลงโฆษณา ก็ตาม

7. ได้พื้นที่ใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แถมมีคนคอยบริการ ช่วยเหลือเมือ่มีปัญหาทางด้านเทคนิค หรือปัญหาทั่วๆไปที่เกี่ยวกับ บล็อก

8. ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือ สิ่งเก่าๆ ที่ยังไม่รู้ ให้รู้มากขึ้น จากการนำมาแลกเปลี่ยนกันและกัน

9. ได้มิตรภาพใหม่ๆ จากความสัมพันธ์กับคนในชุมชนบล็อก กับเพื่อนของบล็อกเกอร์ และเพื่อนของเพื่อนของ.....

10. ใช้เป็นช่องทางสื่อสารกับครอบครัว เพื่อนฝูง เมื่อยามห่างไกลกัน

11. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกได้แสดงออกถึงความสามารถ ความคิดเห็นได้อย่างไม่เคยมีมาก่อน บางท่านอาจจะกลายเป็นคนดังได้ เช่น คุณ kittinun ป้ามด และอีกหลายๆท่าน

12. เปิดโอกาสให้ประชาชนคนธรรมดา กลายเป็น ผู้สื่อข่าวได้ เพียงแค่นำเรื่องใกล้ตัวที่น่าสนใจ น่าตระหนัก มาเสนอในช่วงเวลาที่เหมาะสม

13. เปิดโอกาสให้บล็อกเกอร์ได้แสดงตัวตนที่เป็นตัวเอง หรืออาจจะเป็นด้านที่ไม่มีใครรู้มาก่อนได้ แม้จะอยู่ชื่อแฝง หรือจะอยู่ในชื่อจริงก็ตาม

14. เป็นไดอารี่บันทึกประจำวัน เป็นที่เก็บข้อมูลประจำครอบครัว ประจำสถาบัน ใช้เป็นจดหมายเหตุได้

15. เป็นที่พบปะสังสรรค์เพือนเก่า เครือญาติ ศิษย์เก่าสถาบันต่างๆได้

16. เก็บไว้เป็นที่ระลึกถึงตัวเอง ถึงคนอันเป็นที่รัก ที่ชัง ครอบครัว เพื่อน คนอื่นรวมไปถึงสัตว์เลี้ยง พืช งานอดิเรก ของรัก ของหวง รวมถึงเหตุการณ์ที่น่าจดจำรำลึก ในยามที่เลิกหรือไม่ได้ทำบล็อกแล้ว

17. เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ ให้บุคคลอื่นเข้ามาค้นคว้า ศึกษาได้ในปัจจุบันและอนาคต

18. เปิดโอกาสให้ผู้ที่อาจจะต้องอยู่ในมุมมืด เช่นผู้มีอาชีพพิเศษ นักโทษ ผู้ที่ไม่ต้องการเผยตัว ได้ใช้เป็นเวทีแสดงออกและแลกเปลี่ยน เรื่องราว ความคิดเห็น แนวทาง โดยไม่จำเป็นต้องเผยชื่อ

19. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการปรับแนวทางความคิด ความเข้าใจซึ่งกันและกัน และอาจจะนำไปสู่ความรู้รักสามัคคี และการสมานฉันท์ ในการนำส่วนที่ดีดี มาใช้ร่วมกันก็เป็นได้

20. ใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน เช่นกรณีของการนำเสนอข่าวอย่างฉับไว เจาะลึก มีพร้อมทั้งภาพและเสียง ผ่านสื่อต่างๆหลายรูปแบบ ซึ่งในเครือ The Nation ใช้อยู่ในปัจจบุนนี้

21. ใช้ เป็นศูนย์รวมการให้ความรู้ การศึกษาวิชาการ วิชาชีพ ศิลปะ การติว การให้การบ้าน การส่งการบ้าน ของครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป

22. ใช้สร้าง รวมกลุ่ม ชุมชนออนไลน์ย่อยๆ เพื่อการระดมความคิด พบปะพูดคุย ปรึกษาธุระ แสดงผลงานร่วมกัน เช่น ร้อยแก้ว ร้อยกรอง วรรณกรรม การ์ตูน งานศิลปะอื่นๆ ตามแตความสนใจของกลุ่มย่อยนั้น ในบางกรณี ยังสามารถกำหนด password ในการเข้าบล็อกของกลุ่มเพื่อรักษาความลับไม่ให้รั่วไหล

23. ใช้เป็นสถานีวิทยุออนไลน์ ให้บริการข่าว ฟังเพลง ตลอด 24 ชั่วโมง

ข้อเสียของการทำบล็อกนั้น ก็มีอยู่ เช่น

1. บล็อกเกอร์มีอิสระในการนำเสนอ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสเรื่องที่ไม่เหมาะสม เรื่องที่หมิ่นเหม่ หรือ เข้าข่ายผิดกฎหมาย ผิดประเพณีและศีลธรรมอันดีได้ จึงต้องมีกติกาให้ตัวเอง หรือใช้จริยธรรมของแต่บุคคล ความมีเหตุมีผล ความระมัดระวัง รอบคอบ ของบล็อกเกอร์มากำกับไว้เอง

2. ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถกลั่นกรองเนื้อหาได้ 100% เว้นแต่จะสร้างระบบกรองคำหยาบ คำต้องห้ามไว้เพื่อให้มีการตรวจทานก่อนเผยแพร่ อาจมีความเสี่ยงเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายไปด้วยหากมีบล็อกเกอร์โพสข้อความ รูปภาพ ไม่เหมาะสมแล้วมีการฟ้องร้องขึ้นมา

3. ในทางปฏิบัติ ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถบังคับหรือกำหนดแนวทางให้บล็อกเกอร์นำเสนอได้ แม้จะโปรโมทให้ oknation เป็นสังคมของ CJ Citizen Jouranalist แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า จะไม่สามารถอยู่ได้หากไม่มีบล็อกเกอร์ที่ทำบล็อกในแนวอื่น ซึ่งเปรียบเสมือนมีคอมลัมน์หลากหลายในหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ จึงน่าจะถือว่า เป็นเรื่องของการสร้างชุมชนที่ดีร่วมกัน

4. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อยถึงน้อยมาก

5.ความ น่าเชื่อถือของข้อมูลขึ้นกับความน่าเชื่อถือของบล็อกเกอร์ มากกว่าตัวข้อมูลเอง หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อ้างอิง อาจประสบปัญหาได้

6. เปิดโอกาสให้พวกป่วนเข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน

7. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการแสดงออกถึงการขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล สร้างความไม่สามัคคี ทะเลาะกันได้ หากไม่ใช้การวางจิตเป็นกลาง ไม่นำเหตุและผลมาโต้แย้งกันโดยสันติ

8. เปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่ กระจายข่าวปั้นแต่ง ข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวยั่วยุ

9. การที่มีบล็อก และเรื่องใหม่ๆมากมายในแต่ละวัน การนำเสนอเรื่องเดิมซ้ำๆกันอาจเกิดขึ้นได้ เช่นการนำ ข้อความจากฟอร์เวิร์ดเมล์ มาโพส เป็นต้น


ดังนั้น การจะทำ เวปบล็อกก็ต้องเลือกดีๆๆ และทำความเข้าใจ ศึกษาเรียนรู้กันไปนะคะ เพื่อนๆ

ข้อดี ข้อเสียที่เลือกทำเวปบล็อกนี้

ข้อดี ของ blog โดยเฉพาะของ blogger.com ซึ่งเป็นเจ้าเดียวกับกูเกิ้ล ก็คือ
ไม่ต้องจ่ายตังค์ เสถียรดี แรงดี ไม่มีตก กูเกิ้ล approved ง่าย ถ้าอยากจะสมัครแบบผ่านง่ายๆ ก็ใช้บริการ blogger ได้เลย จากนั้น ค่อยเอา code มาใช้ เวลาเราทำเวบจริง

ข้อเสีย ก็คือ ขาดความน่าเชื่อถือ เพราะดูเหมือน เราอาศัยเวบคนอื่นเค้า ถ้านานๆ ไป เค้าเอาพื้นที่เค้าคืน เราก็แย่เลย

ข้อเสีย อีกอย่าง ที่ทำให้เหนื่อยมาก ก็คือ ต้องทำหลายๆ บล๊อก เพราะถ้าบล๊อกชื่อเดียวก็เรื่องเดียว ถ้าจะทำหลายๆ เรื่องในบล๊อกเดียว keyword ที่วิ่งมาหา ก็มั่ว สะเปะสะปะอีก ก็เลยต้องทำหลายๆ บล๊อก ให้มัน link กัน

แถมทำบล๊อกนึงเสร็จ ก็ได้ชื่อนึง ก็ต้องมานั่งทำ channel , submit ทีละเวบ ทีละชื่อ เหนื่อยแย่เลย


ดังนั้น ความคิดเห็นของกลุ่ม ที่เลือกใช้เวปนี้ เพราะ สมาชิกมีอีเมลล์ของ google นั่นคือ gmail อยู่แล้ว จึงไม่ต้องเสียเวลาไปสมัครใหม่

ข้อเปรียบเทียบของ web blog "multiply" และ " yahoo"

ข้อดีของ multiply blog
จากผู้เล่น multiply
1. มันทำให้เราได้รับรู้ความเป็นไปของเพื่อนๆแต่ละคน

2. มันสามารถโชว์รูปได้ด้วย เลยพอจะอัพเดตหน้าตาเพื่อนๆได้

3. มันมีลูกเล่นหลายอย่าง ทั้งโชว์รูป เขียนระบาย และนู้นนี่อีกเยอะ

4. มัน...เหมือนเราได้คุยกับเพื่อนอยู่ตลอดเวลา

อีกหนึ่งนะคะ

1. ผู้เรียนสามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ บันทึกข้อมูล เรื่องราว ข่าวสาร ความ รู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งที่สนใจ เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมองลงสู่ตัวหนังสือ การเขียนมีอิสระทางความคิดในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเอง ถ้าผู้เรียนมีการเขียน blog อยู่เป็นประจำก็จะสามารถนำมาสู่การสร้างขุมความรู้ ( Knowledge Assets ) ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ผู้เรียนสามารถเก็บรวบรวมและแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและ รวดเร็ว
2. เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ ให้กับผู้เรียน โดยหลักการของ blog คือการเผยแพร่เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนไว้บน blog เพื่อแสดงตัวตนของผู้เขียนออกสู่สาธารณชนซึ่งนั่นหมายถึง blog ย่อม มีความสามารถในการสนับสนุนการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทันทีที่ผู้เขียนมีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขความรู้ที่มีอยู่บน blog ไฟล์ RSS ก็จะทำการดึงเอาเนื้อหานั้น ๆ มาใส่ไว้ในไฟล์ด้วยทันที
3. เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้เรียน การเขียน blog จะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อความรู้ที่ผู้เรียนเขียนถ่ายทอดลงไปใน blog และ ผู้เรียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้น ๆ ในลักษณะของการสนทนาเพื่อหาความแตกฉานในตัวความรู้ ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันสกัดความรู้ฝังลึกได้อย่างดี
4. เป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ของผู้เรียน ผู้ชำนาญการ และชุมชนปฏิบัติ การเขียนและอ่าน blog เป็นวิธีการค้นหาความรู้ ช่วยให้ค้นพบผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะโดยการเขียน blog ที่มักอ้างถึง blog อื่น ๆ โดยการโยงลิงค์ไปหาบทความหรือบันทึกนั้น ๆ อีกทั้งลิงค์ที่ผู้เรียนบรรจุไว้ใน blog ซึ่งอยู่นอกตัวบทความ หรือการร่วมเป็นสมาชิกของ blog ในกลุ่มที่เรียน
5. เป็น เครื่องมือในการรวบรวมและแยกแยะประเภทของความรู้ สกัดแก่นความรู้ และสร้างความสัมพันธ์ของความรู้ การให้ผู้เรียนระบุหมวดหมู่หรือคีย์เวิร์ดของบันทึกนั้น ๆ ไว้ ซึ่งบันทึกหนึ่ง ๆ อาจมีความเหมาะสมในการแยกหลายหมวดหมู่ ถือเป็นการสกัดแก่นความรู้จากขุมความรู้ โดยที่ตัวผู้เรียนเอง อาจจะดึงเอาคีย์เวิร์ดของชุมชนที่ถูกรวบรวมผู้ใช้หลายคน
6. เป็นเครื่องมือในการสร้างลำดับความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของความรู้ ของผู้เรียนโดยมีผู้นำเอาความรู้นั้นไปใช้ ให้ เกิดผลและนำผลมาปรับปรุงความรู้เดิมให้เกิดความรู้ตัวใหม่ หรือทำให้ความรู้นั้น ๆ มีความถูกต้องมีหลักฐานที่วัดได้ทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ระบบมีการจัดลำดับความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้หนึ่ง ๆ ได้โดยตรงจากผู้อ่าน blog ซึ่งอาจจะเป็น ผู้ที่ได้นำเอาความรู้นั้นๆ ไปใช้เองอีกด้วย หรือการแสดงสถิติต่างๆของ blog เช่น บันทึกที่ได้รับการแสดงข้อคิด เห็นมากที่สุด หรือ บันทึกที่มีผู้อ่านมากที่สุด ก็สามารถเป็นเครื่องมือพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้ของผู้เรียนได้ในระดับหนึ่ง
7. ได้ฝึกประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความคล่องตัวในการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้น

ข้อพึงระวังของ Multiply webblog ต่อการเรียนการสอน

1. การขาดความเข้าใจในการใช้ ผู้ใช้ควรจะได้รับการฝึกอบรมก่อนการนำข้อมูล ข่าวสารไปใช้ในการเรียนการสอน เพราะบางครั้งอาจจะทำให้ผู้เรียนขาดทักษะในการสร้างจินตนาการได้

2. การเรียนการสอนแบบนี้ จะเป็นการศึกษาด้วยตนเอง ไม่ต้องอาศัยชั้นเรียน ไม่มีเพื่อนร่วมชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนขาดการเรียนรู้บางด้านของสังคมในชั้นเรียน เช่น ความมีมนุษยสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม การปรึกษาหารือกัน เป็นต้น

3. เกิดการละเลยการปลูกฝังความรู้ทางด้านคุณธรรม จริยธรรมให้กับผู้เรียน เพราะจะเน้นการจัดกระบวนการเรียนที่ทันสมัย ใช้อุปกรณ์ IT ที่มีความสามารถสูง มีความรอบรู้ และสามารถสืบค้นข้อมูลทุกอย่างที่ต้องการ

4. การให้ความสำคัญกับ IT มากกว่าครู/อาจารย์ เพราะเมื่อใช้การเรียนการสอนแบบนี้ครูจะมีบทบาทเพียง เป็นผู้จัดการเรียนรู้ เป็นผู้อำนวยความสะดวก และเป็นตัวกลางของการมีมนุษย์สัมพันธ์ ระหว่างนักเรียน และคอมพิวเตอร์


ดังนั้น ตามความคิดของกลุ่ม คือ
การเล่น multiply มีข้อดี แต่ส่วนใหญ่ก็คือ เอาไว้คุยกะเพื่อนนั่นเอง ซึ่งตอนนี้เราต้องการทำ blog เ้พื่อเผยแพร่ความรู้ทางภาษาอังกฤษ และถึงแม้ว่าการเข้าไปดูของคนอื่นได้โดยไม่ต้องสมัครสมาชิกก็ได้
แต่เราก็ไม่สามารถจะเขียน comment ได้โดยที่เราไม่ได้เป็นสมาชิก หรือ เพื่อนของเขา เช่นเดียวกัน
และ ส่วนใหญ่จะใช้ทำเทคโนโลยีสารสนเทศได้ เช่น e-learning เป็นต้น แต่ต้องเป็นผู้มีความเชียวชาญสูง
แล้ว จึงจะเข้าใจในการเล่น multiply เพราะรูปลักษณ์จะสร้างยาก ไม่มีคำแนะนำเป็นขั้นตอนให้
อีกข้อหนึ่งที่พบ คือ ส่วนใหญ่ ชุมนุมของ multiply นั้น จะเป็นการโชว์รูปภาพเพราะทางเวปนี้เค้าให้พื้นที่ในการโพสต์รูปเยอะทีเดียว จำพวกรูปถ่ายที่มีไฟล์ขนาดใหญ๋ ก๊วนถ่ายภาพต่างๆ
เป็นต้น


เกี่ยวกับ yahoo blog

บล็อกของ Yahoo! รู้รอบ พื้นที่ที่เราจะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้ามามีส่วนร่วมสร้างสังคมแห่งความรู้ของไทยเรา

ใครที่เพิ่งเคยเข้ามาที่นี่ อาจจะพอรู้จัก Yahoo! รู้รอบ กันแล้วในชื่อของ Yahoo! Answers คอนเซ็ปต์ของเราก็เป็นแบบที่หลายคนอาจจะเคยเห็นครับคือ ใครใคร่ถาม-ถาม ใครใคร่ตอบ-ตอบ โดยที่เราเน้นว่าใครมีคำถามเราก็มาช่วยกันตอบอย่างเต็มที่ ใครที่ตอบดี เจ้าของคำถามก็จะเข้ามาเลือกคำตอบที่ดีที่สุด พร้อมให้เหตุผลว่าทำไมถึงเลือกคำตอบนั้น หรือในกรณีที่เจ้าของคำตอบไม่ได้เลือกคำตอบที่ดีที่สุด เพื่อนๆ ใน Yahoo! รู้รอบ ก็จะมาช่วยกันโหวตจนเราได้คำตอบที่ดีที่สุดออกมา

เมื่อเราสงสัยเราจึงถาม เมื่อเรารู้เราก็แชร์ และความรู้ที่มาจากพวกเราทุกคนที่แหละที่จะช่วยให้สังคมความรู้ของไทยเราดีขึ้น

ผมเชื่อเหลือเกินครับว่าเราทุกคนมีคำถามในใจ แต่บางทีเราไม่ได้ถามมันออกมาเท่านั้นเอง และในขณะเดียวกัน เราทุกคนมีความรู้และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ไม่มีใครรู้อะไรไปหมดทุกอย่าง แต่ทุกคนรู้และเข้าใจในแต่ละสิ่งแต่ละอย่างแตกต่างกันไป นี่เป็นอีกเหตุผลนึงที่เราต้องมาแชร์กัน!

สำหรับบล็อกนี้… ที่นี่จะมีข่าวคราวอัพเดทจากทีมงาน Yahoo! รู้รอบ มาเป็นระยะๆ ไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์ลูกเล่นใหม่ๆ หรือมีคำถาม คำตอบที่น่าสนใจจากเพื่อนๆ ก็จะนำมาเอาขึ้นไว้ที่นี่ด้วย

ข้อคิดเห็นและข้อเสีย ต่างๆ ที่เราพบในกลุึ่่ม คือ
1. อยากให้ทางผู้ดูแลช่วยยืนยันคำตอบบางอย่างว่าเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้มี หลักฐานและการพิสูจน์จริงๆ(เช่น เรื่องสุขภาพ,ข้อกฎหมาย) ส่วนบางคำตอบที่ำไม่แน่ใจหรือเป็นการแสดงความคิดเห็นก็ไม่ต้องยืนยันก็ได้(จะทำเป็นลิงค์ให้สมาชิกเข้าไปอ่านเองก็ได้)
2. หน้าแรกเนื้อความของคำถามโชวฺ์ไม่ครบประโยค
3. ส่งคำถามแล้ว จะไม่เต็มประโยค มี1 -2 คำ และบางคำถามไม่โชว์
คำถามอยู่ในโปรไฟล์ บางครั้งออกไปโชว์ พอเพื่อนตอบซักท่าน สองท่าน ก็กลับไปอยู่ในโปรไฟล์
และวันนี้โหวต ไป 3-4ข้อ ก็จะขึ้นคำว่า โหวตเกิน ประมาณนี้
4. เวลาเราพิมพ์ข้อความลงไปแล้วแล้วเราเกิดพิมพ์ข้อความขาดแล้วเรากดคลิกให้ เส้นที่มันกระพริบกลับมาเพื่อใส่ข้อความที่ขาดไปแล้วทำไมเราคลิกเอาไอตัวกระ พริบกลับไปไว้ที่ท้ายสุดของการพิมพ์ไม่ได้คะมันจะเหลือไว้1ตัวเช่นสระ ะ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เป็นตัวสุดท้าย เราจะลบก็ไม่ได้
5. การสมัครสมาชิก อแนะนำว่าควรมีการให้สมาชิกระบุรหัสบัตรประชาชนเข้าไปด้วยโดยไม่ต้องแสดงหน้า ข้อมูล สืบเนื่องจากในช่วงนี้ปัญหาบ้านเมืองหนักหน่วงและรุนแรงมาก ดังนั้นควรมีการป้องกันข้อความที่มาตีกิน หรือยุแหย่เพื่อให้สังคมรู้รอบแห่งนี้เกิดความแตกแยก และขอให้ตรวจสอบคำถามและคำตอบอย่างเป็นกลางด้วย
6.ไม่สามารถให้บริการได้ชั่วคราวบ่อย
7. เจอปัญหาการส่งคำตอบไม่ผ่าน ถามไม่ได้ขึ้นมา
8. ก่อนที่จะตั้งคำถาม อยากจะลองหา keyword ของคำถามดูก่อน เพราะอาจจะเป็นคำถามที่มีคนเคยถามมาก่อนหรือคล้ายคลึงกัน และอาจมีคนมาตอบแล้วด้วย เป็นการลดเวลาในการหาคำตอบข้อผู้ที่สงสัยในเรื่องนั้นๆด้วย แต่ทา่งเวปตอบมาว่า
เราเคยมี Search engine ไว้ให้สมาชิกค้นหาคีย์เวิร์ดในหน้าแรก แต่ว่ายังใช้งานได้ไม่ดีเลยหยุดไว้ก่อนชั่วคราว ตอนนี้ทางทีมงานเอา Search engine ที่ทำงานตรงนี้ได้มาแปะไว้ในบล็อกครับ ลองเสิร์ชดูนะครับ ใช้ชั่วคราวไปก่อน http://www.yanswersblogth.com
ก็ยังไม่ค่้อยดีเท่าไหร่

ลองเปรียบเทียบดูนะคะ
เผื่อเพื่อนๆเอาไปใช้ต่อไปนะคะ

ประโยคภาษาอังกฤษที่น่าสนใจค่ะ

จากประโยคเหล่านี้นะคะ

1. Visitors are expected to complain at the office between the hours of 9 and 11 A.M. daily.
แขกผู้มาเยือนจะต้องไปด่าเราที่สำนักงานของโรงแรมตั้งแต่เวลา 9.00 - 11.00 น. ทุกวัน

แต่จริงๆต้องการสื่อว่า : ถ้าแขกที่มาพักไม่พอใจในบริการของโรงแรม สามารถติดต่อสำนักงานของโรงแรมได้
ในช่วงเวลา 9.00 - 11.00 น.

2. It is forbidden to enter a woman even a foreigner if dressed as a man.
ห้ามผู้หญิงเข้า ไม่เว้นแม้แต่ชาวต่างชาติ ถ้าหากแต่งตัวเป็นผู้ชาย

แต่จริงๆต้องการสื่อว่า : ห้ามผู้หญิงที่แต่งกางเกงเข้าวัด (ต้องใส่กระโปรง) ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ

3. The lift is being fixed for the next day. During that time we regret that you will be unbearable.
ลิฟท์จะซ่อมเสร็จในวันพรุ่งนี้ ในระหว่างนี้ เราต้องขออภัยถ้าท่านจะทนไม่ได้

แต่จริงๆต้องการสื่อว่า : ลิฟท์จะซ่อมเสร็จพรุ่งนี้ ในระหว่างนี้ยังใช้งานไม่ได้

4. Please do not feed the animals. If you have any suitable food, give it to the guard on duty.
กรุณาอย่าให้อาหารสัตว์ ถ้าท่านมีอาหารที่เหมาะสม กรุณาให้อาหารยามรักษาการณ์แทน

แต่จริงๆต้องการสื่อว่า : กรุณาอย่าให้อาหารสัตว์เอง แต่ถ้ามีอาหารอยากจะให้ กรุณาให้ยามรักษาการณ์เอาอาหารไปเลี้ยงสัตว์เอง

5. Take one of our horse-driven city tours--we guarantee no miscarriages.
ลองนั่งรถม้าชมเมืองสิ เรารับประกันว่าท่านไม่แท้งลูกแน่

แต่จริงๆต้องการสื่อว่า : ลองนั่งรถม้าชมเมืองสิ เรารับประกันว่าไม่มีอันตราย

6. To stop the drip, turn X to right.
ถ้าต้องการปิดน้ำ ให้หัน X จู๋ไปทางขวา

แต่จริงๆต้องการสื่อว่า : ถ้าต้องการปิดน้ำ ให้หมุนก๊อกไปทางขวา

7. It is strictly forbidden on our black forest camping site that people of different sex, for instance, men and women, live together in one tent unless they are married with each other for that purpose.
ที่แคมป์พักแรมในป่าดำนี้ ห้ามเด็ดขาดไม่ให้บุคคลต่างเพศ อย่างเช่น ผู้หญิง กับผู้ชาย อาศัยอยู่ในเต็นท์เดียวกัน เว้นแต่ว่า พวกเขาแต่งงานกันเพื่อจุดประสงค์อย่างว่า

แต่จริงๆต้องการสื่อว่า : ที่แคมป์พักแรมในป่าดำนี้ ห้ามเด็ดขาดไม่ให้ผู้หญิงกับผู้ชายพักในเต็นท์หลังเดียวกัน เว้นแต่ว่าเป็นสามีภรรยากัน

8. Ladies may have a fit upstairs.
เชิญสุภาพสตรีโมโสโทโสได้ที่ชั้นบน

แต่จริงๆต้องการสื่อว่า : เชิญสุภาพสตรีวัดตัวตัดเสื้อได้ที่ชั้นบน

9. You are invited to take advantage of the chambermaid.
ขอเชิญท่านหาเศษหาเลยกับแม่บ้านของเรา

แต่จริงๆต้องการสื่อว่า : ขอเชิญท่านใช้แม่บ้านของเราทำความสะอาดห้องของท่านได้ อย่าเกรงใจ

10. Cooles and Heates: If you want just condition of war in your room, please control yourself.
ได้ทั้งเย็นและร้อน ถ้าท่านต้องการเปิดสงครามในห้องของท่าน โปรดควบคุมตัวเอง

แต่จริงๆต้องการสื่อว่า : ใช้ได้ทั้งทำความเย็นและทำความร้อน ถ้าท่านต้องการบรรยากาศห้องอบอุ่นสบาย โปรดปรับได้ตามใจชอบ

11. Stop: Drive Sideways.
หยุด : โปรดวิ่งตะแคงข้าง

แต่จริงๆต้องการสื่อว่า : หยุด : โปรดวิ่งเลนตรงข้าม (เพราะว่าวิ่งผิดเลน)

12. Ladies are requested not to have children in the bar.
คุณสุภาพสตรี กรุณาอย่าคลอดบุตรที่บาร์

แต่จริงๆต้องการสื่อว่า : คุณสุภาพสตรี กรุณาอย่านำเด็กเข้ามาในบาร์

13. Order your summers suit. Because is big rush we will execute customers in strict rotation.
โปรดรีบสั่งตัดเสื้อผ้าหน้าร้อนของคุณ เพราะในเวลาเร่งรีบ เราจะสังหารลูกค้าตามลำดับโดยไม่มีข้อบิดพลิ้ว

แต่จริงๆต้องการสื่อว่า : โปรดรีบสั่งตัดเสื้อผ้าหน้าร้อนของคุณ เพราะหากมีลูกค้ามาก เราอาจไม่ทัน และเราจำเป็นต้องทำตามลำดับออร์เดอร์ที่เข้ามาก่อนหลัง

14. Fur coats made for ladies from their own skin.
เสื้อโค้ทขนสัตว์สำหรับสุภาพสตรี ทำจากหนังของสุภาพสตรีผู้สั่งตัด

แต่จริงๆต้องการสื่อว่า : เสื้อโค้ทขนสัตว์แท้สำหรับสุภาตรี

15. Our nylons cost more than common, but you’ll find they are best in the long run.
ถุงน่องไนล่อนของเราอาจราคาสูงกว่าที่อื่น แต่ท่านจะพบว่ามันขาดได้ยาวและยอดเยี่ยมมาก

แต่จริงๆต้องการสื่อว่า : ถุงน่องไนล่อนของเราอาจราคาสูงกว่าที่อื่น แต่ท่านจะพบว่ามันใช้ได้ทนกว่า

16.Because of the impropriety of entertaining guests of the opposite sex in the bedroom, it is suggested that the lobby be used for this purpose
เนื่องจากการรับแขกที่เป็นเพศตรงข้ามในห้องนอนนั้นเป็นเรื่องไม่เหมาะสม เราจึงขอแนะนำให้ท่านใช้ล็อบบี้เพื่อการณ์นี้แทน

แต่จริงๆต้องการสื่อว่า : เนื่องจากการให้แขกที่เป็นเพศตรงข้ามขึ้นไปที่ห้องนอนนั้นเป็นเรื่องไม่เหมาะสม เราจึงขอแนะนำให้ท่านลงมาพบแขกที่ล็อบบี้แทน

เห็นไหมค่ะ ว่าการที่ใช้ภาษาไม่ถูกนี่ ทำให้คนเข้าใจผิดได้เยอะเลยทีเดียวนะคะ
เพื่อนๆเห็นด้วยไหมค่ะ
แสดงความคิดมาเลยค่ะ

Which one is a true notice?


จำคุกแปลกจริงๆๆนะคะ

คำอธิบายนะคะ
Bangkok temple:
It is forbidden to enter a woman even a foreigner if dressed as a man.

ป้ายหน้าวัดในกรุงเทพ
ห้ามผู้หญิงเข้า ไม่เว้นแม้แต่ชาวต่างชาติ ถ้าหากแต่งตัวเป็นผู้ชาย

แต่จริงๆต้องการสื่อว่า : ห้ามผู้หญิงที่แต่งกางเกงเข้าวัด (ต้องใส่กระโปรง) ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ



คำผิด คือ thur จริงๆๆแล้วควรจะใช้คำว่า thru นะคะ